เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพและสังคมของประเทศ
1.แผนที่ หมายถึง การแสดงลักษณะพื้นผิวโลกลงบนแผ่นราบ โดยการย่อส่วน และการใช้สัญลักษณ์ ไม่ว่าเครื่องหมายหรือสี แทนสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก แผนที่จึงต่างจากลูกโลกและแผนผัง
ตัวอย่าง แผนที่เขตภูมิอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2.แผนผัง เป็นแบบที่เขียนย่อหรือขยายสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในแต่ละพื้นที่โรงพยาบาล อาคารเรียน เป็นต้น
3. ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นการถ่ายภาพในระยะไกล โดยใช้ครื่องบินในการถ่ายภาพ ให้รายะละเอียดภาพกว่าง ข้อมูลทันสมัย
4. ภาพถ่ายจากดาวเทียม เป็นการบันทึกสิ่งต่างๆ ที่ปรากฎบนผิวโลก โดยใช้อุปกรณ์ระบบบันทึกจากภาพที่ติดไปกับดาวเทียม ให้รายละเอียดภาพกว้าง และได้ข้อมูลทันสมัย
5. เข็มทิศ เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการบอกทิศทาง
6. เครื่องวัดความกดอากาศ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความกดอากาศในบริเวณต่างๆ
7. เครื่องวัดทิศทางลม เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดทิศทางลม เมื่อลมพัดมาปะทะที่หางลูกศร หัวลูกศรจะชี้ไปตามทิศทางลม
8. ข้อมูลจาก website เป็นแหล่งข้อมูลที่จะใช้ค้นหาความรู้เกี่ยวกับข้อมูล และสารสนเทศทางพื้นที่ที่สนใจ
1.แผนที่ หมายถึง การแสดงลักษณะพื้นผิวโลกลงบนแผ่นราบ โดยการย่อส่วน และการใช้สัญลักษณ์ ไม่ว่าเครื่องหมายหรือสี แทนสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก แผนที่จึงต่างจากลูกโลกและแผนผัง
ตัวอย่าง แผนที่เขตภูมิอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่ตั้งและลักษณะทั่วไปของประเทศไทย
ที่ตั้งประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีน มีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ดังนี้ ตั้งอยู่ประมาณระหว่างละติจูด 5 องสา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องสา 27 ลิปดาเหนือและระหว่างลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก หรือบริเวณซีกโลกเหนือในเขตละติจูดระหว่างเส้นศูนย์สูตร กับเส้นทรอปิกออกฟเคนเซอร์ นั่นเอง จึงจัดอยู่ในประเทศเขตร้อนจากที่ประเทศไทยทำเลที่ตั้งเป็นคาบสมุทร จึงส่งผลดีต่อการเพาะปลูกของประเทศตลอดมา และประเทศไทยตั้งอยู่ท่ามกลางดินแดนของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
ที่ตั้งประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีน มีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ดังนี้ ตั้งอยู่ประมาณระหว่างละติจูด 5 องสา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องสา 27 ลิปดาเหนือและระหว่างลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก หรือบริเวณซีกโลกเหนือในเขตละติจูดระหว่างเส้นศูนย์สูตร กับเส้นทรอปิกออกฟเคนเซอร์ นั่นเอง จึงจัดอยู่ในประเทศเขตร้อนจากที่ประเทศไทยทำเลที่ตั้งเป็นคาบสมุทร จึงส่งผลดีต่อการเพาะปลูกของประเทศตลอดมา และประเทศไทยตั้งอยู่ท่ามกลางดินแดนของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
อาณาเขตประเทศไทย
|
ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศสหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของประเทศ คือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ใต้สุดคือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชาประชาธิปไตย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุด คือ ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศสหภาพพม่า ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกสุดคือ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
ลักษณะภูมิประเทศ
ภาคเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบหุบเขา ที่สำคัญคือ ภูเขา แดนลาว ภูเขาหลวงพระบาง ภูเขาถนนธงชัย ภูเขาเพชรบูรณ์ ภูเขาขุนตาล ภูเขาผีปันน้ำ เป็นที่เกิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แม่น้ำป่าสัก เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย เป็นต้น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ไหนลงสู่ภาคกลางมารวมกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดเปรียบเสมือน "เส้นเลือดใหญ่" ของประเทศ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก มีพื้นที่ถึง 170,000 ตร.กม. หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พื้นที่ทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ ทอดเชื่อมกับเทือกเขาดงพญาเย็น ทำให้เกิด "ภู" น้อยใหญ่ เช่น ภูกระดึง ภูหลวง ภูเขียว ภูเรือ ทางทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาพนมดงรัก เป็นที่เกิดของแม่น้ำ ลำธารสำคัญของภาคอีสานหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น พื้นที่ตอนกลางของภาคมีลักษณะคล้ายเกาะมีที่ราบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะดินเป็นดินปนทราย ไม่อุ้มน้ำ น้ำซึมผ่านได้รวดเร็ว ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งมากในฤดูแล้ง
ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอน ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสาขาต่าง ๆ พัดพามา ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการปลูกข้าวมากที่สุดของประเทศ เรียกได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของไทย และเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด
ภาคตะวันออก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเนินเขาลดลงสู่ที่ราบชายฝั่งทะเล มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ซึ่งเกิดจากเทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด ไหลลงสู่อ่าวไทย
ภาคตะวันตก มีลักษณะเป็นเทือกเขาและหุบเขา แต่มีความสูงไม่มากนัก เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย ที่ราบหุบเขาที่สำคัญในภาคนี้ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำใหญ่ 2 สาย คือ แควน้อยและแควใหญ่ ไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงคราม
ภาคใต้ มีลัษณะเป็นมหาสมุทรแคบ ๆ ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาติดต่อกันเป็นแนวยาวไปจนจรดพรมแดนมาเลเซีย ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขานครศรีธรรมราช เทือกเขาสันกาลาคีรี เทือกเขาภูเก็ต ทำให้แบ่งพื้นที่ของภาคใต้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันตก
และที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันออก แม่น้ำในภูมิภาคนี้เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ หลายสายที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปราณบุรี แม่น้ำกระบี่ แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตรัง และแม่น้ำโกลก
ภาตใต้มีภูมิประเทศเป็นชายฝันทะเล |
ภาคเหนือมีภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง |
ภูมิอากาศ
ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีทะเลและมหาสมุทรประกบทั้งสองด้านให้มีอากาศแบบร้อนชื้น และอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมซึ่งมีดังนี้
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดเอาความชื้นเข้ามา ทำให้เกิดฝนตกตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดอากาศหนาวมาจากประเทศจีน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากศหนาวเย็นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีฝนตก
x