วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพและสังคมของประเทศ


1.แผนที่ หมายถึง การแสดงลักษณะพื้นผิวโลกลงบนแผ่นราบ โดยการย่อส่วน และการใช้สัญลักษณ์ ไม่ว่าเครื่องหมายหรือสี แทนสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก แผนที่จึงต่างจากลูกโลกและแผนผัง


ตัวอย่าง แผนที่เขตภูมิอากาศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



2.แผนผัง เป็นแบบที่เขียนย่อหรือขยายสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในแต่ละพื้นที่โรงพยาบาล อาคารเรียน เป็นต้น
3. ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นการถ่ายภาพในระยะไกล โดยใช้ครื่องบินในการถ่ายภาพ ให้รายะละเอียดภาพกว่าง ข้อมูลทันสมัย
4. ภาพถ่ายจากดาวเทียม เป็นการบันทึกสิ่งต่างๆ ที่ปรากฎบนผิวโลก โดยใช้อุปกรณ์ระบบบันทึกจากภาพที่ติดไปกับดาวเทียม ให้รายละเอียดภาพกว้าง และได้ข้อมูลทันสมัย
5. เข็มทิศ เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้ในการบอกทิศทาง
6. เครื่องวัดความกดอากาศ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความกดอากาศในบริเวณต่างๆ
7. เครื่องวัดทิศทางลม เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดทิศทางลม เมื่อลมพัดมาปะทะที่หางลูกศร หัวลูกศรจะชี้ไปตามทิศทางลม
8. ข้อมูลจาก website เป็นแหล่งข้อมูลที่จะใช้ค้นหาความรู้เกี่ยวกับข้อมูล และสารสนเทศทางพื้นที่ที่สนใจ




ที่ตั้งและลักษณะทั่วไปของประเทศไทย                
           ที่ตั้งประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของคาบสมุทรอินโดจีน มีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ดังนี้ ตั้งอยู่ประมาณระหว่างละติจูด 5 องสา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องสา 27 ลิปดาเหนือและระหว่างลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก  หรือบริเวณซีกโลกเหนือในเขตละติจูดระหว่างเส้นศูนย์สูตร กับเส้นทรอปิกออกฟเคนเซอร์ นั่นเอง จึงจัดอยู่ในประเทศเขตร้อนจากที่ประเทศไทยทำเลที่ตั้งเป็นคาบสมุทร จึงส่งผลดีต่อการเพาะปลูกของประเทศตลอดมา และประเทศไทยตั้งอยู่ท่ามกลางดินแดนของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของโลก


อาณาเขตประเทศไทย
ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศสหภาพพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ดินแดนที่อยู่เหนือสุดของประเทศ คือ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ดินแดนที่อยู่ใต้สุดคือ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และกัมพูชาประชาธิปไตย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุด คือ ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี


ทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศสหภาพพม่า  ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกสุดคือ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่อง
สอน

             
ลักษณะภูมิประเทศ 

ภาคเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบหุบเขา ที่สำคัญคือ ภูเขา แดนลาว ภูเขาหลวงพระบาง ภูเขาถนนธงชัย ภูเขาเพชรบูรณ์ ภูเขาขุนตาล ภูเขาผีปันน้ำ เป็นที่เกิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แม่น้ำป่าสัก เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย เป็นต้น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ไหนลงสู่ภาคกลางมารวมกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดเปรียบเสมือน "เส้นเลือดใหญ่" ของประเทศ 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 เป็นบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก มีพื้นที่ถึง 170,000 ตร.กม. หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พื้นที่ทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ ทอดเชื่อมกับเทือกเขาดงพญาเย็น ทำให้เกิด "ภู" น้อยใหญ่ เช่น ภูกระดึง ภูหลวง ภูเขียว ภูเรือ ทางทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาพนมดงรัก เป็นที่เกิดของแม่น้ำ ลำธารสำคัญของภาคอีสานหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น พื้นที่ตอนกลางของภาคมีลักษณะคล้ายเกาะมีที่ราบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะดินเป็นดินปนทราย ไม่อุ้มน้ำ น้ำซึมผ่านได้รวดเร็ว ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งมากในฤดูแล้ง 

ภาคกลาง
 เป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอน ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสาขาต่าง ๆ พัดพามา ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการปลูกข้าวมากที่สุดของประเทศ เรียกได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของไทย และเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด 

ภาคตะวันออก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเนินเขาลดลงสู่ที่ราบชายฝั่งทะเล มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ซึ่งเกิดจากเทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด ไหลลงสู่อ่าวไทย 

ภาคตะวันตก มีลักษณะเป็นเทือกเขาและหุบเขา แต่มีความสูงไม่มากนัก เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย ที่ราบหุบเขาที่สำคัญในภาคนี้ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำใหญ่ 2 สาย คือ แควน้อยและแควใหญ่ ไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงคราม

ภาคใต้ มีลัษณะเป็นมหาสมุทรแคบ ๆ ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาติดต่อกันเป็นแนวยาวไปจนจรดพรมแดนมาเลเซีย ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขานครศรีธรรมราช เทือกเขาสันกาลาคีรี เทือกเขาภูเก็ต ทำให้แบ่งพื้นที่ของภาคใต้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันตก 
และที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันออก แม่น้ำในภูมิภาคนี้เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ หลายสายที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปราณบุรี แม่น้ำกระบี่ แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตรัง และแม่น้ำโกลก


ภาตใต้มีภูมิประเทศเป็นชายฝันทะเล




ภาคเหนือมีภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง

ภูมิอากาศ

        ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีทะเลและมหาสมุทรประกบทั้งสองด้านให้มีอากาศแบบร้อนชื้น และอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมซึ่งมีดังนี้

ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดเอาความชื้นเข้ามา ทำให้เกิดฝนตกตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดอากาศหนาวมาจากประเทศจีน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากศหนาวเย็นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ยกเว้นภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่มีฝนตก





x

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ลักษณะทางกายภาพกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ

                ลักษณะกายภาพทางธรรมชาติต่างๆ เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ภูมิธรณี หิน แร่ และธาตุ ดินประเภทต่างๆ แหล่งน้ำ ป่าไม้และสัตว์ป่า ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กัน ถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลง จะส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ


           ลักษณะกายภาพทางธรรมชาติกับการเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติต่างๆ จะมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ 
1.ปรากฎการณ์น้ำท่วม หรือ อุทกภัย ลักษณะกายภาพที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ได้แก่ เขตที่ลุ่มใกล้แม่น้ำสายใหญ่ ใกล้ชานยฝั่งทะเล มีฝนตกหนักติดต่อกันนาน และบริเวณที่มีสิ่งก่อสร้างขวางเส้นทางระบายน้ำ
วิธีป้องกันภัยจากอุทกภัย
• ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อใดที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง
• ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลาก จากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลาย ๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง
• ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร
• กระแสน้ำหลากจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ และพืชไร่ ต้องระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำ อาจจะประสพอุบัติภัยอื่น ๆ อีกได้
• หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค โดยต้มให้เดือดเสียก่อน


2. ปรากฎการณ์ดินโคลนถล่ม ลักษณะกายภาพที่ทำให้เกิดดินโคลนถล่ม ได้แก่ ภูมิประเทศมีความลาดชันฝนตกหนัก ทำให้น้ำไหลบ่าซะล้างหน้าดินลงมาต้นไม้ตามไหล่เขาไม่มีหรือมีน้อย และโครงสร้างดินไม่แข็ง









3.ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของแมกมาใต้เปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวและสั่นสะเทือนขึ้นจนทำให้เปลือกโลกเกิดการโก่งตัว แยก เลื่อน และแตก ซึ่งเรียกรอยแตกนี้ว่า รอยเลื่อน ซึ่งรอยเลื่อนนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหว


วิธีป้องกันภัยจากแผ่นดินไหว
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
  • เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม น้ำใช้ อาหารแห้ง ไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับหรือกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
  • จัดหาเครื่องรับวิทยุ ที่ใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ สำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน คำแนะนำและสถานการณ์ต่าง ๆ
  • เตรียมอุปกรณ์นิรภัย สำหรับการช่วยชีวิต
  • เตรียมยารักษาโรค และเวชภัณฑ์ให้พร้อมที่จะใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • จัดให้มีการศึกษาถึงการปฐมพยาบาล เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรืออันตรายให้พ้นขีดอันตรายก่อนที่จะถึงมือแพทย์
  • จำตำแหน่งของวาล์ว เปิด-ปิดน้ำ ตำแหน่งของสะพานไฟฟ้า เพื่อตัดตอนการส่งน้ำ และไฟฟ้า
  • ยึดเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอย ภายในบ้าน ที่ทำงาน และในสถานศึกษาให้ความมั่นคงแน่นหนา ไม่โยกเยกโคลงแคลงไปทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
  • ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ไว้ในที่สูง เพราะอาจร่วงหล่นมาทำความเสียหายหรือเป็นอันตรายได้
  • เตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ
  • วางแผนป้องกันภัยสำหรับครอบครัว ที่ทำงาน และสถานที่ศึกษา มีการชี้แจงบทบาทที่สมาชิกแต่ละบุคคลจะต้องปฏิบัติ มีการฝึกซ้อมแผนที่จัดทำไว้ เพื่อเพิ่มลักษณะและความคล่องตัวในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

4.ปรากฏการณ์พายุพัดพารุนแรง (วาตภัย)
วาตภัย หมายถึง ภัยอันตรายที่เกิดจากลมพัดรุนแรง
ลมเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากความกดอากาศแตกต่างกัน บริเวณที่มีความกดอากาศต่างกันไม่มากจะเกิดลมเบาๆ เรียกว่า ลมอ่อน แต่ถ้าเกิดความแตกต่างกันมาก จะเกิดลมพัดรุนแรงและรวดเร็ว เรียกว่า ลมพายุ






               ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ทำให้ได้รับผลจากอิทธิพลพายุหมุนเขตร้อนทุกปี ส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชัน พายุหมุนเขตร้อนจำแนกตามระดับความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางได้ดังนี้
พายุดีเปรสชัน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางน้อยกว่า 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุโซนร้อน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางระหว่าง 62 - 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุใต้ฝุ่น มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ
1.             ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอ ุต ุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
2.             สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอ ุต ุนิยมวิทยา
3.             ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
4.             ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
5.             เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉายแบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร

          ภัยธรรมชาติที่ได้กล่าวมานั้นเป็นภัยธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยและได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทยมาอย่างมากมาย และนอกจากนี้เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากไม่ใช้แค่ประเทศไทยแต่ทุกประเทศทั่วโลกแม้ว่าประเทศนั้นจะมีเทคโนโลยีสูงแค่ไหนก็ยังรับมือกับภัยธรรมชาติได้ไม่ดีนัก แสดงให้เราเห็นว่าภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่สมควรประมาทเลย เพราะมันอาจคร่าชีวิตเราและคนที่เรารักไปได้ รวมทั้งทรัพย์สินของเรา













หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ทรัพยากรธรรมชาติ

ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติ
          ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) หมายถึงสิ่งที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่ขึ้นเอง อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์และธรรมชาติด้วยกันเอง  ถ้าสิ่งนั้นยังไม่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติ 
          ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติมักจะมองในแง่ที่ว่า เป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หากไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรเลยก็คงไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีการจัดประเภททรัพยากรธรรมชาติไว้หลายประเภทด้วยกัน เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ ฯลฯ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่เป็นแหล่งพลังงานสำคัญ
          การใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติ" และคำว่า "สิ่งแวดล้อม" บางครั้งผู้ใช้อาจจะเกิดความสับสนไม่ทราบว่าจะใช้คำไหนดี จึงน่าพิจารณาว่าคำทั้งสองนี้มีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันอย่างไร ในเรื่องนี้ เกษม จันทร์แก้ว (2525:7-8) ได้เสนอไว้ดังนี้
          1. ความคล้ายคลึงกัน ในแง่นี้พิจารณาจากที่เกิด คือ เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหมือนกัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นกัน มนุษย์รู้จักใช้ รู้จักคิดในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ และมนุษย์อาศัยอยู่ในทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ก็ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติ แล้วมนุษย์ก็เรียกสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดว่า "สิ่งแวดล้อม" ความคล้ายคลึงกันของคำว่า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ที่ว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม
          2. ความแตกต่าง ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่สิ่งแวดล้อมนั้นประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ หากขาดทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์จะไม่สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้เลย
          ถ้าแยกมนุษย์ออกมาในฐานะผู้ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงควรใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติ" แต่ถ้าต้องการกล่าวรวม ๆ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นก็ควรใช้คำว่า "สิ่งแวดล้อม" แต่ถ้าต้องการเน้นเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ก็ควรใช้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" 
เมื่อกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมหลาย ๆ คน จะเข้าใจถึงเรื่องของน้ำเสีย ควันพิษในอากาศ ไอเสียจากรถยนต์ ขยะมูลฝอย ฯลฯ ซึ่งในความเป็นจริง สิ่งแวดล้อม มีความหมายกว้างมาก มีความสัมพันธ์กับทุก ๆ สิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ใน Module นี้ จะสนทนากัน ในเรื่องของคน มีความสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมอย่างไร โดยที่ตระหนักอยู่เสมอว่า ในอดีตที่ผ่านมา ปัญหาเรื่อง ความสมดุลย์ของ ธรรมชาติกับคนยังไม่มี คนส่วนใหญ่ในยุคต้น ๆ จึงมีชีวิตอยู่ใต้ อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลง ทางด้านธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม มีลักษณะที่ ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่เนื่องจาก มีความเจริญก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ขยายตัวมากขึ้น ประกอบด้วย ความต้องการของมนุษย์ มีอยู่ไม่จำกัด จึงทำให้เกิดปัญหา ทางด้านสิ่งแวดล้อม ขึ้นในโลกสีเขียวของเรา เช่น ปัญหาทางด้าน ภาวะมลพิษทางเสียและน้ำ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ เสื่อมสลาย ปัญหาการตั้งถิ่นฐาน และชุมชน ดังนั้น จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องกล่าวถึง มนุษย์กับความสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร






ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ
          การแบ่งประเภทของทรัพยากรธรรมชาติมีการแบ่งกันหลายลักษณะ แต่ในทีนี้ แบ่งโดยใช้เกณฑ์ของการนำมาใช้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
          1. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น (Inexhaustible natural resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีมนุษย์ เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นมาสิ่งเหล่านี้ก็มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
              1.1 ประเภทที่คงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง (Immutuable) ได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตามสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงมีไม่เปลี่ยนแปลง
              1.2 ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลง (Mutuable) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์อย่างผิดวิธี เช่น การใช้ที่ดิน การใช้นำโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพ และด้านคุณภาพ
          2. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้ (renewable natural resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไปแล้วสามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ ซึ่งอาจจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กันชนิดของทรัพยากรธรรมชาติประเภทนั้น ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วทดแทนได้ เช่น พืช ป่าไม้ สัตว์ป่า มนุษย์ ความสมบูรณ์ของดิน คุณภาพของน้ำ และทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นต้น
          3. ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (Recycleable natural resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติจำพวกแร่ธาตุที่นำมาใช้แล้วสามารถนำไปแปรรูปให้กลับไปสู่สภาพเดิมได้ แล้วนำกลับมาใช้ใหม่อีก (อู่แก้ว ประกอบไวยกิจ เวอร์,2525:208) เช่น แร่โลหะ แร่อโลหะ ได้แก่ เหล็ก ทองแดง อะลูมิเนียม แก้ว ฯลฯ
          4. ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป (Exhausting natural resources) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้แล้วจะหมดไปจากโลกนี้ หรือสามารถเกิดขึ้นทดแทนได้ แต่ต้องใช้เวลายาวนานมาก ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ 
และถ่านหิน เป็นต้น





ความสำคัญและผลกระทบของทรัพยากรธรรมชาติ
          ทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญต่อมนุษย์มากมายหลายด้านดังนี้
          1. การดำรงชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นกำเนิดของปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์พบว่า มนุษย์จะต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสนองความต้องการทางด้านปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
              -     อาหารที่มนุษย์บริโภคแรกเริ่มส่วนหนึ่งได้จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เผือก มัน ปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็ม เป็นต้น
              -     เครื่องนุ่งห่ม แรกเริ่มมนุษย์ประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่มจากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น จากฝ้าย ป่าน ลินิน ขนสัตว์ ฯลฯ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ต่อมาเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการเครื่องนุ่งห่มก็เพิ่มขึ้นด้วย จึงจำเป็นต้องปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ เพื่อการทำเครื่องนุ่งห่มเอง และในที่สุดก็ทำเป็นอุตสาหกรรม
              -     ที่อยู่อาศัย การสร้างที่อยู่อาศัยของชนเผ่าต่าง ๆ จะพยายามหาทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นองค์ประกอบหลักในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ในเขตทะเลทรายที่แห้งแล้ง บ้านที่สร้างขึ้นในเขตภูเขาจะทำด้วยดินเหนียว แต่ถ้าเป็นบริเวณที่แห้งแล้ง และไร้พืชพรรณธรรมชาติ บ้านที่สร้างขึ้นอาจจะเจาะเป็นอุโมงค์เข้าไปตามหน้าผา บ้านคนไทยในชนบทสร้างด้วยไม้ ไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยจากหรือหญ้า เป็นต้น
              -     ยารักษาโรค ตั้งแต่สมัยโบราณมนุษย์รู้จักนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรค เช่น คนไทยใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคหวัด หอบ หืด หัวไพล ขมิ้น น้ำผึ้งใช้บำรุงผิว
          2. การตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานในการตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพของมนุษย์ เช่น แถบลุ่มแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชและสัตว์ จะมีประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมประมง เป็นต้น
          3. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
          4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร เครื่องผ่อนแรง ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ
          5. การรักษาสมดุลธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยในการรักษาสมดุลธรรมชาติ 

กิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่
          1. กิจกรรมทางด้านอุตสหกรรม โดยไม่มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีการนำใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และก่อให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีการเปิดหน้าดิน ก่อให้เกิดปัญหาการชะล้าง พังทลายของดิน และปัญหาน้ำทิ้ง จากเหมืองลงสู่แหล่งน้ำ ก่อให้เกิดพลพิษทางน้ำ
          2. กิจกรรมทางการเกษตร เช่น มีการใช้ยาฆ่าแมลง เพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งผลให้เกิดอันตราย ต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เนื่องจากมีการสะสมสารพิษ ไว้ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดอันตราย ในระยะยาวและเกิดความสูญ ทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากการเจ็บป่วย ของประชาชน และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่แย่ลง
          3. กิจกรรมการบริโภคของมนุษย์ ส่งผลให้ มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย ขาดการคำนึงถือสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อมตามมา เช่น ปริมาณขยะที่มากขึ้น จากการบริโภคของเรานี้ ที่มากขึ้นซึ่งยากต่อการกำจัด โดยเกิดจาการใช้ทรัพยากร อย่างไม่คุ้มค่า ทำให้ปริมาณทรัพยากรธรรมชาติ ลดน้อยลง เป็นต้น




 สาเหตุที่มนุษย์ลำบายสิ่งแวดล้อมมีหลายสาเหตุดังนี้
          1. การเพิ่มของประชากร การเพิ่มของประชากรโลก เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความเจริญ ทางด้านการแพทย์ ช่วยลดอัตราการตาย โดยการเพิ่มประชากรนี้ ก่อให้เกิดการบริโภคทรัพยากรมากขึ้น มีของเสียมากขึ้น
          2. พฤติกรรมการบริโภค อันเนื่องมาจาก ต้องการให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น มีความสุขสบาย มากขึ้น มีการนำใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างสิ้นเปลือง มีขยะและของเสียมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและตัวมนุษย์เอง
          3. ความโลภของมนุษย์ โดยนำทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมาใช้ เพื่อให้ตนเองมีความร่ำรวย มีความสะดวกสบาย มีความเห็นแก่ตัว ขาดสติยั้งคิด ถึงสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นผลส่งให้เกิดปัญหา สิ่งแวดล้อม ที่มากระทบต่อมนุษย์เองในที่สุด
          4. ความไม่รู้ สิ่งที่ทำให้มนุษย์ ขาดการรู้เท่าทัน บนรากฐานแห่งความจริง อย่างลึกซึ้งใน สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ส่งผลให้มนุษย์ขาดสต ิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มีพฤติกรรมการบริโภค อันเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม โดยขาดการคาดการณ์ ผลที่จะเกิดตามมา จะส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่ง แวดล้อม และนำไปสู่ความเสียหาย ทั้งตนเองและธรรมชาติ