วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ลักษณะทางกายภาพกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ

                ลักษณะกายภาพทางธรรมชาติต่างๆ เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ภูมิธรณี หิน แร่ และธาตุ ดินประเภทต่างๆ แหล่งน้ำ ป่าไม้และสัตว์ป่า ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กัน ถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลง จะส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ


           ลักษณะกายภาพทางธรรมชาติกับการเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติต่างๆ จะมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ 
1.ปรากฎการณ์น้ำท่วม หรือ อุทกภัย ลักษณะกายภาพที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ได้แก่ เขตที่ลุ่มใกล้แม่น้ำสายใหญ่ ใกล้ชานยฝั่งทะเล มีฝนตกหนักติดต่อกันนาน และบริเวณที่มีสิ่งก่อสร้างขวางเส้นทางระบายน้ำ
วิธีป้องกันภัยจากอุทกภัย
• ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อใดที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง
• ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลาก จากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลาย ๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง
• ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร
• กระแสน้ำหลากจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ และพืชไร่ ต้องระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำ อาจจะประสพอุบัติภัยอื่น ๆ อีกได้
• หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค โดยต้มให้เดือดเสียก่อน


2. ปรากฎการณ์ดินโคลนถล่ม ลักษณะกายภาพที่ทำให้เกิดดินโคลนถล่ม ได้แก่ ภูมิประเทศมีความลาดชันฝนตกหนัก ทำให้น้ำไหลบ่าซะล้างหน้าดินลงมาต้นไม้ตามไหล่เขาไม่มีหรือมีน้อย และโครงสร้างดินไม่แข็ง









3.ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวของแมกมาใต้เปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวและสั่นสะเทือนขึ้นจนทำให้เปลือกโลกเกิดการโก่งตัว แยก เลื่อน และแตก ซึ่งเรียกรอยแตกนี้ว่า รอยเลื่อน ซึ่งรอยเลื่อนนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหว


วิธีป้องกันภัยจากแผ่นดินไหว
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
  • เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ถ่านไฟฉาย ไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม น้ำใช้ อาหารแห้ง ไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับหรือกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ
  • จัดหาเครื่องรับวิทยุ ที่ใช้ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ สำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน คำแนะนำและสถานการณ์ต่าง ๆ
  • เตรียมอุปกรณ์นิรภัย สำหรับการช่วยชีวิต
  • เตรียมยารักษาโรค และเวชภัณฑ์ให้พร้อมที่จะใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • จัดให้มีการศึกษาถึงการปฐมพยาบาล เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรืออันตรายให้พ้นขีดอันตรายก่อนที่จะถึงมือแพทย์
  • จำตำแหน่งของวาล์ว เปิด-ปิดน้ำ ตำแหน่งของสะพานไฟฟ้า เพื่อตัดตอนการส่งน้ำ และไฟฟ้า
  • ยึดเครื่องเรือน เครื่องใช้ไม้สอย ภายในบ้าน ที่ทำงาน และในสถานศึกษาให้ความมั่นคงแน่นหนา ไม่โยกเยกโคลงแคลงไปทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
  • ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ไว้ในที่สูง เพราะอาจร่วงหล่นมาทำความเสียหายหรือเป็นอันตรายได้
  • เตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ
  • วางแผนป้องกันภัยสำหรับครอบครัว ที่ทำงาน และสถานที่ศึกษา มีการชี้แจงบทบาทที่สมาชิกแต่ละบุคคลจะต้องปฏิบัติ มีการฝึกซ้อมแผนที่จัดทำไว้ เพื่อเพิ่มลักษณะและความคล่องตัวในการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

4.ปรากฏการณ์พายุพัดพารุนแรง (วาตภัย)
วาตภัย หมายถึง ภัยอันตรายที่เกิดจากลมพัดรุนแรง
ลมเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากความกดอากาศแตกต่างกัน บริเวณที่มีความกดอากาศต่างกันไม่มากจะเกิดลมเบาๆ เรียกว่า ลมอ่อน แต่ถ้าเกิดความแตกต่างกันมาก จะเกิดลมพัดรุนแรงและรวดเร็ว เรียกว่า ลมพายุ






               ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ทำให้ได้รับผลจากอิทธิพลพายุหมุนเขตร้อนทุกปี ส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชัน พายุหมุนเขตร้อนจำแนกตามระดับความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางได้ดังนี้
พายุดีเปรสชัน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางน้อยกว่า 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุโซนร้อน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางระหว่าง 62 - 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุใต้ฝุ่น มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ
1.             ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอ ุต ุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
2.             สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอ ุต ุนิยมวิทยา
3.             ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
4.             ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
5.             เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉายแบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร

          ภัยธรรมชาติที่ได้กล่าวมานั้นเป็นภัยธรรมชาติที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยและได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทยมาอย่างมากมาย และนอกจากนี้เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากไม่ใช้แค่ประเทศไทยแต่ทุกประเทศทั่วโลกแม้ว่าประเทศนั้นจะมีเทคโนโลยีสูงแค่ไหนก็ยังรับมือกับภัยธรรมชาติได้ไม่ดีนัก แสดงให้เราเห็นว่าภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่สมควรประมาทเลย เพราะมันอาจคร่าชีวิตเราและคนที่เรารักไปได้ รวมทั้งทรัพย์สินของเรา













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น